ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดเพชรบูรณ์
|
||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||
![]()
เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง เพชร ภูเขาและไร่ยาสูบ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย อยู่ระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเส้นรุ้งที่ ๑๖ องศาเหนือกับเส้นแวง ๑๐๑ องศาตะวันออก ส่วนกว้างวัดจาก ทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว ๕๕ กม. ส่วนยาววัดจากเหนือถึงใต้ยาว ๒๙๖ กม. มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๖๖๘.๔๑๖ ตารางกิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๑๔ เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๔๖ กม จังหวัดเพชรบูรณ์มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากในแต่ละฤดูกาล คือ อากาศจะร้อนมากในฤดูร้อน ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม หนาวจัดในฤดูหนาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ท้องที่อำเภอน้ำหนาวและอำเภอหล่มเก่าตอนล่าง ราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ในฤดูฝนมีฝนตกชุก ราว เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และมีน้ำป่าไหลหลากมาท่วมในที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนใต้ ของจังหวัด ในฤดูแล้งน้ำจะขาดแคลนไม่เพียงพอกับการเกษตรกรรม ความชื้นสัมพัทธ์
ประชากร
จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรทั้งสิ้น ๑,๐๓๖,๕๒๖ คน เป็นชาย ๕๑๙,๗๐๐ คน เป็นหญิง ๕๑๖,๘๒๖ คน (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓)
เขตการปกครอง สภาพเศรษฐกิจและสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
จังหวัดเพชรบูรณ์โดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอาชีพและผลผลิตทางการเกษตรกรรม โดยมีการทำไร่ยาสูบ มากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมาได้แก่การทำสวนผลไม้ ที่ทำชื่อเสียงให้มากที่สุดคือ มะขามหวาน นอกจาก นี้มีการปลูกพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และมีอาชีพอื่น ๆ ที่สร้างรายได้ให้กับประชากรชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว การป่าไม้ การปศุสัตว์ การค้าขาย และการอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อ คนต่อปี ๒๘,๔๒๕ บาท (ข้อมูลปี ๒๕๔๐) สภาพทางสังคม
จังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งลักษณะของประชากรออกเป็น ๒ ส่วน คือ ทางตอนเหนือของจังหวัด ประกอบ ด้วยอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่าและอำเภอน้ำหนาว ประชาชนส่วนใหญ่มีพื้นเพและหลักแหล่งอยู่ที่เดิมมา ก่อน จึงมีภาษาพูดท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมและประเพณี ตลอดจนความคิดเห็นที่คล้ายคลึงหรือกลมกลืนกัน ส่วนอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัด ประกอบด้วยอำเภอชนแดน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอ หนองไผ่ และอำเภอศรีเทพ มีประชากรอพยพมาจากจังหวัดอื่น ๆ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ โดยประมาณ ร้อยละ ๕๖ ดังนั้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจึงแตกต่างไปตามลักษณะพื้นที่ กล่าวคือ ใน พื้นที่อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า มีประเพณีดั้งเดิมที่คล้ายกับภาคอีสาน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญแข่งเรือออกพรรษา ประเพณีสงกรานต์ ในตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ มีประเพณีเหมือนภาคเหนือ ภาคกลางทั่วไป ส่วนด้านใต้ของจังหวัดจะมีประเพณีที่ผสมผสานกัน เป็นไปตามวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่อพยพ เข้ามา ภาษาถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรที่เป็นคนพื้นบ้านซึ่งพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างกันแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ยังมีประชากรที่อพยพจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยใช้ภาษาถิ่นเดิมของตน และชาวไทยภูเขาที่พูดภาษาของ เผ่าตน จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาถิ่นของเพชรบูรณ์มีความหลากหลาย ภาษาถิ่นที่ใช้กันในจังหวัด เพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้ ๑. กลุ่มภาษาหล่ม เป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว ประชากรในเขตพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมครั้งอพยพ มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาหล่มมีการใช้ศัพท์คล้ายกับภาษาไทยอิสาน แต่แตกต่างกันที่ สำเนียง ภาษาหล่มจะมีสำเนียงคล้ายกับภาษาลาวที่ใช้พูดในเมืองหลวงพระบาง ในตำบลต่าง ๆ ในแต่ละ อำเภอ สำเนียงพูดจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่ภาษาสื่อสารกันได้เพราะใช้ศัพท์ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันความ สะดวกทางการคมนาคมและการใช้ภาษาไทยถิ่นกลาง จึงทำให้ภาษาไทยถิ่นกลางปะปนกับภาษาหล่ม เช่น พูดสำเนียงภาษาหล่มโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยถิ่นภาคกลาง
|